วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

แนะนำ OneDrive

Microsoft OneDrive เป็นบริการรับฝากไฟล์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้อัปโหลดและซิงค์ไฟล์ผ่านระบบเก็บข้อมูลแบบคลาวด์และสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ แอป หรืออุปกรณ์อื่นๆ OneDrive ยังสามารถแชร์ไฟล์ไปให้ผู้อื่นและกำหนดสิทธิ์ได้

OneDrive มีพื้นที่เก็บข้อมูล 5 GB ฟรี พร้อมตัวเลือก (มีค่าใช้จ่าย) พื้นที่จัดเก็บ 100 GB, 1 TB และ 6 TB มีให้เลือกทั้งแยกต่างหากหรือสมัครใช้งานพร้อมกับ Microsoft 365

ที่มา:

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

แนะนำการเลือกคอมพิวเตอร์

การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เราควรดูเป้าหมายที่จะใช้ทำงาน หากไม่ใช้งานหนักมาก สามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่มี spec ที่ไม่สูงได้ แต่หากใช้งานหนักขึ้นมา ก็ต้องใช้ spec ของ hardware ที่สูงขึ้น และราคาก็จะสูงขึ้นมาด้วย

ส่วนระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ ผมแนะนำให้ใช้แบบถูกกฎหมายไปเลย เนื่องจากหากใช้แบบผิดกฎหมายหรือของปลอม อาจจะเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพสามารถ hack ข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อมูลการเงินทาง online ของเราไปได้ แนวทางที่จะประหยัดค่าซอฟต์แวร์คือ ในการเลือกคอมพิวเตอร์ ควรเลือกคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเช่น Windows ลิขสิทธิ์แท้ ติดตั้งมาให้เลย (OEM) จะไม่ต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ Windows ต่างหาก (FPP) ประหยัดไปมากครับ ควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ในปัจจุบันนี้ถ้าเป็น Desktop ที่มียี่ห้อ หรือโน้ตบุ๊ก ส่วนใหญ่ก็จะมี Windows ลิขสิทธิ์ติดตั้งมาให้เลย สามารถบอกทางร้านได้ครับ อย่าลืมบอกว่าไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ให้มานะครับ ส่วนโปรแกรม Office สามารถเลือกคอมพิวเตอร์รุ่นที่มี Office ลิขสิทธิ์แท้ติดตั้งมาให้เลยครับ จะประหยัดอีก ส่วนซอฟต์แวร์อื่นๆ แนะนำให้ไม่ใช้แบบผิดลิขสิทธิ์ครับ เพราะอาจจะติด virus หรือ malware ได้ครับ

ส่วนหากต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบประกอบ เราจะสามารถเลือก spec เองได้ แต่จะต้องเสียค่าระบบปฏิบัติการ Windows เพิ่มเติมเอง สามารถเลือกแบบ OEM เป็นแบบให้ติดตั้งลงบนเครื่องใหม่เท่านั้นและย้ายเครื่องไม่ได้ หรือแบบ FPP จะสามารถย้ายเครื่องได้ แต่มีราคาสูงกว่าแบบ OEM ส่วนโปรแกรม Office หากจะใช้ก็จะต้องซื้อเพิ่มเติมเองเช่นกัน มีให้เลือกหลายรุ่นตามการใช้งานครับ โปรแกรม Office ที่แยกซื้อจะเป็นแบบ FPP สามารถย้ายเครื่องได้ตามเงื่อนไขที่ Microsoft กำหนดครับ ส่วน Microsoft 365 จะเป็น Office แบบสมัครใช้งานได้ในเวลาที่จำกัด เช่นใช้ได้ 1 ปี เมื่อครบเวลาแล้วจะต้องสมัครต่อ (มีค่าใช้จ่ายเป็นรายปี) จึงจะใช้งานต่อได้ครับ

ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ จะให้สิทธิ์การใช้งานต่อ 1 เครื่องเท่านั้น ยกเว้นซอฟต์แวร์บางตัว จะบอกว่าใช้งานได้ตามจำนวนเครื่องที่ระบุไว้

การเลือกซื้อซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ควรเลือกร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย ร้านคอมพิวเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือซื้อผ่าน Official Website ของซอฟต์แวร์นั้นๆ การซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ควรจะวางแผนงบประมาณเอาไว้ก่อนด้วย เนื่องจากซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์จะมีราคาค่อนข้างสูงครับ

การใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แล้ว ก็ควรมีความรู้เรื่องระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ จะได้ระวังภัยจากมิจฉาชีพไว้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

รู้จัก Software License โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ ซอฟต์แวร์ ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ซึ่งหากจะนำมาใช้นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้พัฒนา โดยผู้พัฒนาจะมอบสัญญาอนุญาตแก่ผู้ใช้ ซึ่งแบบนั้น เราเรียกว่า Software License (ซอฟต์แวร์ ไลเซนส์)

Software License คืออะไร ?
Software License คือ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ หรือเอกสิทธิ์ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีสิทธิ์ควบคุมใช้ หรือเผยแพร่ได้ โดยผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา ไม่สามารถนำไปทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลง เพื่อแสวงหากำไร โดยผู้มีเอกสิทธิ์สามารถกำหนดข้อจำกัด และข้อตกลงกับผู้ใช้ เช่น ขายซอฟต์แวร์ในเชิงพาณิชย์ หรือมีไว้ให้ใช้ฟรี 

ประเภทของ Software License มีอะไรบ้าง ?
Software License หรือ ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์บางตัว ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี โดยอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องการใช้งาน หรืออายุการใช้งานที่ถูกจำกัดไว้ ซึ่งประเภทของซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ มีอยู่หลากหลาย สามารถกแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้ตามเงื่อนไขการใช้งานได้ดังนี้

1. Public-domain Software: ซอฟต์แวร์สาธารณะ
เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ไข แจกจ่าย หรือจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีแหล่งที่มา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมเก่า ถูกเผยแพร่ในยุคที่ยังไม่มีการคุ้มครองเรื่องซอฟต์แวร์ 

2. Proprietary Software: ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์
เป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ และมีข้อจำกัดในการใช้งาน แจกจ่าย หรือดัดแปลง ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา และผู้ขายเป็นผู้กำหนด เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์รูปแบบนี้นั้น ยังเป็นทรัพย์สินของเจ้าของโดยตรง โดยผู้ใช้งานจะต้องใช้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ส่วนมากจะมีให้เห็นในการขายซอฟต์แวร์ ที่สามารถ เช่า ซื้อ หรือขายไลเซนส์ได้ เช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRAR, Skype หรือระบบ Microsoft Office

โดยข้อจำกัดการใช้งาน จะมีอธิบายไว้ในข้อตกลงสิทธิ์ หรือ End-user license agreement นั่นเอง 

3. Commercial Software: ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์
หรือการขายซอฟต์แวร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการค้าเท่านั้น สามารถเช่า หรือซื้อไลเซนส์จากทั้งตัวแทนขาย และผู้พัฒนาได้ โดยที่ผู้พัฒนา จะออกแบบเงื่อนไขของการใช้งานให้กับผู้ซื้อ ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร, จำกัดจำนวนผู้ใช้เท่าไร, ลดทอนฟีเจอร์ใดบ้าง หรือหากเป็นชุดซอฟต์แวร์ จะมีการจำกัดจำนวนซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้ ซึ่งแต่ละไลเซนส์ จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน 

ยกตัวอย่าง บางตัวที่ออกแบบมาเพื่อขายซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft, ระบบปฏิบัติการ Windows, Microsoft 365 มีการแบ่งแพ็คเกจการใช้งานเช่น สำหรับคนทั่วไป สำหรับใช้ในองค์กร สำหรับใช้ในสถานศึกษา, POS Software, Accounting Software และ Database Management Software 

4. Demo: ซอฟต์แวร์ทดลองใช้แบบจำกัดความสามารถ
เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ทดลองใช้ ไม่จำกัดเวลา แต่บางฟังก์ชันอาจจะยังไม่เปิดใช้งาน ซึ่งยังสามารถใช้งานฟังก์ชันหลักได้ เช่น โปรแกรมจำลองไดร์ฟ Daemon Tool หรือจำลอง Drive แผ่น DVD/CD เป็นต้น

5. Freeware: ซอฟต์แวร์เสรี
ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ซึ่งผู้ใช้จะไม่มีสิทธิ์ในการดัดแปลง แก้ไข หรือขายซอฟต์แวร์ โดยส่วนใหญ่ จะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มักทำออกมาเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้ ต้องการซื้อในเวอร์ชันที่จะต้องเสียเงินเช่น โปรแกรม Anti-Virus, โปรแกรม GOM Player 

6. Shareware: ซอฟต์แวร์ทดลอง แบบจำกัดการใช้งาน 
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกพัฒนา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง Freeware & Commercial มีลักษณะคล้ายกับ Demo แตกต่างกันในส่วนที่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา เช่น จำนวนวันใช้งาน, มีฟังก์ชันไม่ครบ และอาจจะมีโฆษณาเข้ามากวนใจด้วย

7. Open-Source Software: ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด
เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้งานฟรี เหมือนกับ Freeware แต่ผู้ใช้งาน สามารถปรับปรุง แก้ไข โค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้ โดยอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ เช่น  ระบบปฏิบัติการ Linux หรือ โปรแกรมบีบอัดไฟล์ 7-Zip และ โปรแกรมรับส่งไฟล์ FileZilla เป็นต้น 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ ต่างก็มีหลายหลายรูปแบบต่างกันไป โดยแต่ละตัว ก็มีประเภทลิขสิทธิ์ และ Software License ที่แตกต่างกันอีกด้วย เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจ

ที่มา :

Microsoft License Terms

วินโดวส์ 11 หรือ วินโดวส์ 10 จะมี License แบบ OEM คือติดตั้งมาจากโรงงาน หรือแบบ FPP คือจะต้องติดตั้งภายหลังเอง ซึ่งแต่ละแบบจะมี Microsoft License Terms เป็นข้อตกลงสำหรับผู้ใช้งานวินโดวส์ต่างกัน สามารถดู License Terms เป็นภาษาไทยได้จากเว็บไซต์ของ Microsoft

ควรอ่าน ศึกษา Microsoft License Terms ให้เข้าใจ

แนะนำ OneDrive

Microsoft OneDrive เป็นบริการรับฝากไฟล์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้อัปโหลดและซิงค์ไฟล์ผ่านระบบเก็บข้อมูลแบบคลาวด์และสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ผ่านทางเว...